จากการได้ติดตามข้อมูลข่าวต่างๆ พบว่าคนจำนวนมากยังไม่ได้มีความเข้าใจหรือตระหนักถึงการเกิด AEC ในปี 2558 มากนัก เป็นพิเศษนิสิตนักศึกษาที่กำลังจะก้าวเข้า สู่ตลาดแรงงานอันใกล้ ต่างมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ซึ่งกรอบความคิดเช่นนี้น่าห่วงยิ่งนัก อย่างที่ทราบกันดีว่า AEC เกิดจากการรวมกลุ่มระหว่าง ประเทศไทยกับอีก 9 ประเทศเพื่อนบ้าน อันประกอบไปด้วย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา นั่นหมายความว่า การเคลื่อนที่ของแรงงานของ 10 ประเทศที่กล่าวมาสามารถ เดินทางทำงาน ณ ประเทศต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น มองดูแล้วเป็นเหรียญสองด้านทั้งด้านแสงส่องสว่างแห่งโอกาสและด้านมืดจากอุปสรรค
การสร้างคนให้ได้รับด้านหัวแห่งโอกาสจึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถสร้างได้แค่การบอกกล่าวเล่าให้นิสิตฟังในห้องเรียนจากการสอดแทรกในรายวิชาที่สอนเท่านั้น แต่ควรจะมีวิชาที่ ว่าด้วยประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเปิดสอนในทุกระดับการเรียนรู้ซึ่งเนื้อหาควรกล่าวถึงทั้งทางด้านภาษาที่ใช้โดยเน้นหนักให้นิสิตนักศึกษาได้ศึกษาภาษาของประเทศในกลุ่มสมาชิก ในระดับที่สามารถใช้ติดต่อได้อย่างน้อยก็ในระดับพื้นฐานเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมกับเพิ่มความเข้มข้นในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษควบคู่กันไปด้วยเนื่องจากสำหรับ ประเทศไทยนั้นเมื่อเทียบเคียงทักษะการใช้ภาษาอังกฤษจากผลการสำรวจล่าสุดของสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าประสิทธิภาพและความพร้อมของไทยอยู่ใน ระดับกลางๆเมื่อเปรียบกับประเทศอื่นในอาเซียน และตามหลังอินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษสูงที่สุด
นอกจากการให้ความสำคัญในด้านการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาต่างๆแล้วควรให้ความสลักสำคัญกับการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยจัดให้มีโครงการเปลี่ยน ประสบการณ์ในการเรียน การฝึกงานแก่นิสิตนักศึกษาระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งการมีองค์ความรู้ที่รอบด้านเปรียบได้ กับการรู้เขารู้เรา ซึ่ง ณ เวลานี้เขารู้เราแต่เรารู้เขามากแค่ไหน ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องด้วยในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสสอนนิสิตนักศึกษาชาวต่างชาติที่ มาจากประเทศเพื่อน บ้านเยอะขึ้น ทั้งกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเวียดนาม นิสิตต่างชาติเหล่านี้ล้วนคาดหวังการได้ทำงานในไทยหลังจากเรียนจบ นั่นหมายความว่าตำแหน่ง แรงงานในไทยจะถูกแทนที่จากนิสิตต่างชาติเหล่านี้จึงหวังว่าระบบการศึกษาไทยจะเข้มแข็งขึ้น และสามารถตอบโจทย์ตลาดแรงงานที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้ทัน
ติดต่อ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 0-2711-1685 (จันทร์ ศุกร์ 8.30 17.00 น.)
Website : http://www.jobtopgun.com/
เขียนโดย คุณ jobjung
|